เข้าสู่ระบบ
วันนี้ | 32 | |
เมื่อวานนี้ | 65 | |
สัปดาห์นี้ | 151 | |
สัปดาห์ที่แล้ว | 435 | |
เดือนนี้ | 966 | |
เดือนที่แล้ว | 2148 | |
ทั้งหมด | 164988 |
กสร.แก้ประกาศ จป.วิชาชีพเฉพาะด้านเป็น “บุคลากรส่งเสริมความปลอดภัย”
ผลหารืออธิบดี กสร. กับเครือข่าย จป. วิชาชีพ-สภาอุตฯ สรุปยอมปรับประกาศทดสอบบุคลากรความปลอดภัยในการทำงานเฉพาะด้าน เปลี่ยนชื่อเป็น “บุคลากรส่งเสริมความปลอดภัย” ดูแลความปลอดภัยในการทำงาน ไม่มีสิทธิรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยเฉพาะด้าน
วันนี้ (3 พ.ค.) ที่กระทรวงแรงงาน นายพานิช จิตร์แจ้ง อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการหารือกับผู้แทนเครือข่ายเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดหลายจังหวัดกว่า 20 คนเกี่ยวกับการปรับปรุงประกาศ กสร. เรื่องหลักเกณฑ์การทดสอบและออกหนังสือรับรองบุคลากรด้านความปลอดภัยเฉพาะด้าน ซึ่งหารือกันนานกว่า 2 ชั่วโมงว่า ผลการหารือมีข้อสรุปว่าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีข้อเสนอแนะให้ใช้ชื่อผู้เข้ารับการทดสอบว่า บุคลากรส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานเฉพาะด้าน ส่วนคุณสมบัติผู้เข้ารับการทดสอบควรกำหนดเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทุกระดับ และให้ผู้ที่ประสบการณ์การทำงานด้านก่อสร้างซึ่งจบ ปวช. สาขาโยธา หรือก่อสร้างที่มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมทั้งผู้ที่จบ ปวส. สาขาโยธา หรือก่อสร้างที่มีประสบการณ์ทำงานไม่น้อยกว่า 2 ปี และผู้ที่จบปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมศาสตร์หรือสาขาอื่นที่เกี่ยวกับงานก่อสร้างหรือสาขาความปลอดภัยและอาชีวอนามัยสามารถเข้ารับการทดสอบได้
นายพานิช กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้ขอให้ กสร. กำหนดอำนาจหน้าที่ของบุคลากรส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานให้ชัดเจนเพื่อป้องกันการทำงานซ้ำซ้อนกับ จป. วิชาชีพ โดยให้มีหน้าที่ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานเท่านั้น ไม่มีสิทธิเข้าสู่ตำแหน่งจป. วิชาชีพได้ เนื่องจากการทดสอบตามประกาศดังกล่าวเป็นเพียงโครงการนำร่องเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยในกิจการต่างๆ ทำให้ไม่มีกฎหมายใดๆ รองรับอย่างไรก็ตาม เครือข่ายวิชาชีพ จป. ยังมีความกังวลในเรื่องของมาตรฐานการทดสอบและกรรมการประเมินว่าได้มาตรฐานหรือไม่ ตนจึงได้ยืนยันต่อที่ประชุมว่า ทั้งสองเรื่องนี้ได้มาตรฐานแน่นนอน แต่เพื่อความสบายใจจะให้กรรมการประเมินลงชื่อรับรองในใบรับรองของผู้ผ่านการทดสอบด้วย
“ผลการหารือเป็นที่พอใจของทุกฝ่ายเพราะ กสร. ไม่ได้เป็นการเข้าไปแตะเรื่องของการเข้าสู่ตำแหน่ง จป. วิชาชีพ ผู้ที่ผ่านการอบรมมีหน้าที่แค่ส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานเท่านั้น แต่ไม่สามารถเข้ามาเป็น จป. วิชาชีพได้ หลังจากนี้ผมจะนำข้อเสนอทั้งหมดไปหารือกับฝ่ายกฎหมายของ กสร. เพื่อปรับปรุงเนื้อหาประกาศคาดว่าจะลงนามประกาศในเร็วๆ นี้ และจะนำมาใช้ในการทดสอบบุคลากรส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานด้านก่อสร้างก่อน จะเปิดตัวโครงการในวันที่ 8 พ.ค. นี้ ที่กระทรวงแรงงาน หลังจากนั้นจะขยายผลการทดสอบไปในด้านกิจการ เหมืองแร่ ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี การผลิต การขนส่ง รวมถึงสถานีบริการจำหน่ายน้ำมันหรือก๊าซ” อธิบดี กสร. กล่าว
ที่มา : www.manager.co.th
แก้ไขล่าสุด (วันอังคารที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ เวลา ๑๙:๒๙ น.)
-
เทคนิคและวิธีการตรวจความปลอดภัยในพื้นที่การทำงานเสี่ยงสูง
.......................................................................... -
แนวทางการจัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน
.......................................................................... -
สัญลักษณ์ของถังดับเพลิงแบ่งตามประเภทของไฟ ตามข้อกำหนดมาตรฐานสากล (มาตรฐาน NFPA 10)
.......................................................................... -
ความปลอดภัยในการทำงานบนอาคารสูง
..........................................................................