เข้าสู่ระบบ
วันนี้ | 34 | |
เมื่อวานนี้ | 65 | |
สัปดาห์นี้ | 153 | |
สัปดาห์ที่แล้ว | 435 | |
เดือนนี้ | 968 | |
เดือนที่แล้ว | 2148 | |
ทั้งหมด | 164990 |
โดย : จักร ศิริภักดิ์
ปัจจุบันประเทศไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครมีจำนวนอาคารสูงถึง 305 อาคาร (อาคารสูงหมายถึงอาคารที่สูงกว่า 23 เมตรขึ้นไปตามกฎหมายการตรวจสอบอาคาร) ที่สูงที่สุดคือตึกใบหยก 2 ความสูง 304 เมตร และยังมีการก่อสร้างอาคารสูงที่จะสูงกว่าอาคารใบหยกอีก 2 โครงการ ชื่อ Ocean One ที่หาดจอมเทียน พัทยา ซึ่งมีความสูงที่หลังคาตึกที่ 327 ม. และอีกโครงการหนึ่งคือ โครงการ Mahanakron แถวๆ สีลม ซึ่งเป็นอาคารที่มีขนาดความสูงที่ 77 ชั้น นอกจากอาคารสูงระฟ้า หรือที่เรียกว่า Skyscraper จะเป็นตัวชี้วัดความเจริญและเครื่องเชิดหน้าชูตาของเมืองใหญ่ต่าง ๆ แล้ว สถาปนิก วิศวกร และ ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ต่างใช้อาคารสูงเป็นการแสดงผลงานชิ้นเอก เนื่องจากการออกแบบและสร้างอาคารสูงต้องอาศัยความรู้ความสามารถ แรงงานคน และเงินทุนจำนวนมหาศาล สิ่งที่ตามมาจากการก่อสร้างก็คือความปลอดภัยในการก่อสร้างและการดูและรักษาอาคารสูงเหล่านั้นให้มีความสวยงามตลอดเวลา ซึ่งต้องใช้คนในการทำความสะอาด บำรุงรักษา ซ่อมแซม ภายนอกของอาคารที่มีความสูงและเสี่ยงต่อการพลัดตกลงมาของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งมีตัวอย่างของอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยๆ
โดยปกติแล้วการทำงานหรือทำความสะอาดภายนอกของอาคารสูงเหล่านั้นจะมีวิธีการอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ
- โดยการใช้กระเช้าไฟฟ้า (Gondola) หย่อนลงมาจากดาดฟ้าของอาคาร ใช้กับงานภายนอกอาคารสูง เช่น ทาสี, ติดตั้งกระจก, เดินท่อ ไม่ควรใช้ในการขนของที่มีน้ำหนักมาก เพราะความเร็วในการเคลื่อนที่ของกระเช้าค่อนข้างช้า
ความปลอดภัยในการทำงานกระเช้าไฟฟ้าจะยึดอยู่กับสายสลิง 4 เส้น โดย สลิง 2 เส้นจะยึดอยู่กับมอเตอร์ที่ใช้ในการเคลื่อนที่ 2 ด้าน อีก 2 เส้นจะต่อเข้ากับ SAFTY LOCK ทั้ง 2 ด้าน เพื่อป้องกันเหตุที่สายสลิงที่ต่อกับมอเตอร์ขาด สลิงที่ต่อกับ SAFTY LOCK จะช่วยยึดไว้ เมื่อใช้งานเสร็จ ต้องให้กระเช้าวางอยู่บนพื้น เพราะถ้ากระเช้าลอยอยู่บนอากาศ อาจจะทำให้กระเช้าแกว่งไปกระแทกอาคาร อาจทำให้เกิดความเสียหายได้ - โดยวิธีโรยตัวลงมาจากที่สูง (Spiderman) เช่นเดียวกับการโรยตัวลงมาจากหน้าผาของนักไต่เขา ปัจจุบันเป็นที่นิยมในการทำความสะอาดกระจกหรือซ่อมแซมเฉพาะจุดภายนอกอาคารสูง เนื่องจากทำงานง่ายไม่ต้องติดตั้งฐานของคานห้อยกระเช้า เคลื่อนย้ายสะดวกและมีราคาถูกกว่าแบบแรก
จากลักษณะการทำงานทั้ง 2 ประเภท จะเห็นได้ว่ามีความเสี่ยงต่อการตกลงมาจากที่สูงได้ตลอดเวลาที่มีการปฏิบัติงาน ดังนั้นก่อนมีการปฏิบัติงานทุกครั้งต้องมีการตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องมือทุกชิ้นที่นำมาใช้งานอย่างเข้มงวด โดยผู้ควบคุมงานหรือวิศวกรฯ ส่วนผู้ปฏิบัติงานก็ต้องได้รับการประชุมชี้แจงให้รู้ถึงอันตรายและความปลอดภัยในการทำงานแต่ละครั้ง ที่สำคัญที่สุดและขาดไม่ได้ของการทำงานบนที่สูง คือต้องมีผู้ที่ได้รับการอบรม ผ่านการฝึกและมีความสามารถในการช่วยชีวิตคอยประจำอยู่ตลอดเวลา (Technical Rope Rescue at Height)
ด้านความปลอดภัยในการป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงทั้ง 2 ประเภทก็คือ การหาวิธีป้องกันไม่ให้ผู้ปฏิบัติงานตกถึงพื้นโดยเด็ดขาด โดยต้องมีเชือกนิรภัยส่วนตัว Safety Life Line (ของใครของมัน) ยึดติดตั้งแต่บนดาดฟ้าห้อยลงมาและตัวผู้ปฏิบัติงานก็ต้องมีการสวมใส่เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัวที่เหมาะสมพร้อมอุปกรณ์ล๊อคป้องกันการตก หากมีการพลัดตกของผู้ปฏิบัติงานเกิดขึ้นก็จะสามารถแขวนตัวไว้ในอากาศเพื่อรอการช่วยเหลือได้โดยปลอดภัย