เข้าสู่ระบบ
วันนี้ | 22 | |
เมื่อวานนี้ | 41 | |
สัปดาห์นี้ | 93 | |
สัปดาห์ที่แล้ว | 402 | |
เดือนนี้ | 775 | |
เดือนที่แล้ว | 1881 | |
ทั้งหมด | 166678 |
- ข้อมูลโดย : สวินทร์ พงษ์เก่า ( อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน ) นักวิทยาศาสตร์ระดับ 10 ฝ่ายพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย กฟผ.
บทนำ
ในการจัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงานให้สอดคล้องกับกฏกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร และจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ซึ่งกำหนดให้คู่มือมีส่วนประกอบหลักอยู่ 2ส่วน คือ
- ขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
- กฎข้อบังคับด้านความปลอดภัย
เพื่อให้หน่วยงานที่จะต้องจัดทำคู่มือดังกล่าวได้เข้าใจ และมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน อันจะทำให้เกิดประโยชน์กับสถานประกอบการในการที่จะนำคู่มือความปลอดภัยไปใช้ในการปฏิบัติจริงในการทำงานอย่างมีประสิทธิผล จึงได้มีการจัดทำแนวทาง ดังนี้
องค์ประกอบในคู่มือ
เพื่อให้คู่มือความปลอดภัย มีความสมบูรณ์ในคู่มือดังกล่าว ควรมีองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้
- นโยบายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- กฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของบริษัท ซึ่งอาจอยู่ในรูปคำสั่ง , ระเบียบ เป็นต้น
- กฎความปลอดภัยโดยแยกเป็นกฎความปลอดภัยทั่วไป (General rule) และ กฎความปลอดภัยเฉพาะงาน(Specific rule)
- ขั้นตอนปฏิบัติงาน (Step by step) โดยขั้นตอนดังกล่าวจะมีการชี้บ่งอันตราย (pin point Hazard) ในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด และกำหนดวิธีการป้องกันอันตรายไว้
- แผนฉุกเฉินต่าง ๆ ของบริษัท เช่น แผนอัคคีภัย แผนสารเคมีหกรั่วไหล เป็นต้น
แนวทางการจัดทำคู่มือ
การจัดทำคู่มือ เพื่อให้มีความเหมาะสม และตรงกับสภาพงานของแต่ละสถานประกอบการในการจัดทำ มีขั้นตอน ดังนี้
- ควรมีการแต่งตั้งคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนแต่ละหน่วยงานภายในสถานประกอบการ โดยตัวแทนแต่ละหน่วยงานจะต้องเป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจในงานหลัก ๆ ที่เป็นงาน Core process ของหน่วยงานตนเองได้เป็นอย่างดี
- จัดทำบัญชีงาน (Task Inventory) ในแต่ละหน่วย โดยบัญชีงานที่จัดทำขึ้นนั้น ในการทำจะต้องเป็นงานทั้งหมด( All task) มิใช่เฉพาะเป็นงานที่อันตรายเท่านั้น ในขั้นตอนที่มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ เพื่อต้องการทำการรวบรวมงานต่าง ๆ ของ สถานประกอบการ และจัดทำเป็นบัญชีงานไว้
- ทำการประเมินงานในแต่ละรายการ โดยมีการตั้งเกณฑ์ประเมินความรุนแรง (Severity) ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าว จะมองดูว่า หากงานมีความล้มเหลว บกพร่อง จะส่งผลกระทบ ทำให้เกิดความรุนแรงในระดับใด
- จากขั้นตอนที่ 3 งานที่เป็นงานที่มีผลกระทบก่อให้เกิดความรุนแรง ปานกลาง และสูง จะนำมาจัดทำการแยกขั้นตอนในแต่ละงาน (Break Task into Step) พร้อมทั้งดำเนินการ pin point hazard ที่แฝงเร้นอยู่ในแต่ละขั้นตอน
- กำหนดมาตรการควบคุม ป้องกันอันตรายที่ได้จากการวิเคราะห์ในขั้นตอนที่ 4 ให้ชัดเจน
- เมื่อผ่านขั้นตอน 1 – 5 มาแล้ว จะได้ขั้นตอนปฏิบัติงานอันตรายครบถ้วนในทุก ๆ งาน ซึ่งในส่วนนี้ สถานประกอบการจะทำการรวบรวมเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย
- ให้คณะทำงานพิจารณาว่า งานใด ควรมีการออกกฎเฉพาะงาน (specific rule) เพิ่มเติม โดยการออกกฎเฉพาะงานที่อันตรายสูงเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องมีกฎเฉพาะงานในทุก ๆ งาน
- สำหรับงานโดยทั่วไป จะมีการกำหนดเป็นกฎความปลอดภัยทั่วไป (General rule) เพื่อใช้เป็นกฎในการควบคุม
- ทำการรวบรวมกฎทั่วไป และกฎเฉพาะงานทั้งหมด เมื่อผ่านขั้นตอนนี้สถานประกอบการจะได้กฎข้อบังคับด้านความปลอดภัย
ขั้นตอนทั้ง 9 ขั้นตอนดังที่กล่าวมาแล้วนี้ หลังจากที่สถานประกอบการได้จัดทำ และรวบรวมเข้ารูปเล่ม และเพิ่มเติมข้อมูลให้ครบถ้วนตามองค์ประกอบของคู่มือ สถานประกอบการก็จะได้คู่มือความปลอดภัยในการทำงานอย่างสมบูรณ์
ความแตกต่างระหว่างคู่มือความปลอดภัยกับคู่มือระบบการบริหารจัดการความปลอดภัย
เพื่อที่จะให้สถานประกอบการได้เห็นความแตกต่างของคู่มือความปลอดภัย กับ คู่มือระบบการบริหารจัดการความปลอดภัย ทางผู้เขียนขอวิเคราะห์ให้เห็นนความแตกต่าง ดังนี้
คู่มือความปลอดภัย |
คู่มือระบบการบริหารจัดการความปลอดภัย |
||
1) |
ประกอบด้วยขั้นตอนปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย |
1) |
จะเขียนเป็นรูปแบบของ Safety Manual , |
|
และกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัย |
|
Safety Procedure ซึ่งจะแสดงให้เห็นขั้นตอนการ |
|
|
|
บริหารจัดการ โดยจะบอกว่า ใคร , ต้องทำอะไร , |
|
|
|
ที่ใด , อย่างไร |
2) |
เทคนิคที่ใช้ จะใช้การวิเคราะห์งาน |
2) |
การเขียนคู่มือ , ระเบียบปฏิบัติ จะเขียนให้ |
|
(Job/Task Analysis) โดยลงรายละเอียดในแต่ละ |
|
สอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบการบริหาร |
|
งานอย่างชัดเจน |
|
จัดการความปลอดภัยที่สถานประกอบการเลือกใช้ |
|
|
|
เช่น มอก.18001 ,ILO -OSHMS 2001 เป็นต้น |
3) |
จะทำการทบทวนทันที เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงงาน |
3) |
การทบทวนคู่มือระบบการบริหารจัดการความ |
|
เพื่อให้ขั้นตอนการทำงานมีความทันสมัยอยู่เสมอ |
|
ปลอดภัยจะทำการทบทวนตามรอบระยะเวลาที่ |
|
|
|
กำหนดไว้ เช่น ทุก 6 เดือน , ทุก 1 ปี เป็นต้น |
4) |
จะใช้เป็นแนวทางในการสอนงานให้ผู้ปฏิบัติที่ต้อง |
4) |
จะใช้เป็นแนวทางให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับบริหารได้ |
|
ทำงานอันตราย ๆ ได้เข้าใจถึงอันตรายและวิธีการ |
|
ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการบริหารระบบ |
|
ป้องกัน |
|
|
5) |
การตรวจสอบจากการตรวจสอบการปฏิบัติงานจริง |
5) |
การตรวจสอบเป็นการตรวจ Audit ระบบการ |
|
ของผู้ปฏิบัติงาน |
|
บริหารจัดการ |
ผู้เขียนหวังว่า แนวทางที่ได้เขียนขึ้นคงจะเป็นประโยชน์กับสถานประกอบการต่างๆ ที่จะต้องมีการจัดทำคู่มือข้อบังคับด้านความปลอดภัยให้สอดคล้องกับข้อกำหนดในกฎหมายอันจะส่งผลทำให้สถานประกอบการเกิดความปลอดภัยอย่างยั่งยืนต่อไป
-
เทคนิคและวิธีการตรวจความปลอดภัยในพื้นที่การทำงานเสี่ยงสูง
.......................................................................... -
แนวทางการจัดทำคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน
.......................................................................... -
สัญลักษณ์ของถังดับเพลิงแบ่งตามประเภทของไฟ ตามข้อกำหนดมาตรฐานสากล (มาตรฐาน NFPA 10)
.......................................................................... -
ความปลอดภัยในการทำงานบนอาคารสูง
..........................................................................