ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องทราบเรื่องประเภทของไฟ เพื่อที่จะสามารถเลือกประเภทของอุปกรณ์ดับเพลิงได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในประเทศไทยก็มีกฏหมายระบุไว้ว่าบริษัทจะต้องจัดให้มีการอบรมเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัยให้กับพนักงานไม่น้อยกว่า 40% ของแต่ละแผนก

เครื่องดับเพลิงแบ่งออกเป็น 5 ประเภท (class) โดยจำแนกตามลักษณะของการเกิดเพลิงไหม้ และระบุประเภทของเครื่องดับเพลิงไว้บนตัวถังเครื่องอย่างชัดเจนเป็นตัวอักษร A B C D และ K ซึ่งเป็นข้อ

กำหนดมาตรฐานสากล ดังนี้

 

 

 

 

1. ไฟประเภท A สัญญลักษณ์ ตัวอักษร A อยู่ในรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า พื้นสีเขียว ตัวอักษร สีดำ

  • สัญญลักษณ์ที่เป็น รูปภาพ  จะเป็นรูปถังขยะ และท่อนไม้ที่ติดไฟ (ตามรูปที่แนบ)
  • เป็นไฟที่ เกิดจากเชื้อเพลิง  ไม้  กระดาษ  ผ้า  ยาง  และ พลาสติก
  • เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับใช้ในการดับไฟ คือ  เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำสะสมแรงดัน
  • เครื่องดับเพลิงชนิดโฟมสะสมแรงดัน,  เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABC
  • เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหย ที่ไม่ทำลายมลภาวะ

calssb


2.  ไฟประเภท B  สัญญลักษณ์  ตัวอักษร B  อยู่ในรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่า  พื้นสีแดง ตัวอักษรสีดำ

  • สัญญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ  จะเป็นรูป ถังใส่น้ำมัน ที่ติดไฟ (ตามรูปที่แนบ)
  • เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงเหลวติดไฟ   น้ำมันเบนซิน,  น้ำมันดีเซล,  สี,   สารละลาย
  • เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับใช้ดับไฟ คือ  เครื่องดับเพลิงชนิดโฟมสะสมแรงดัน,
  • เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABC,  เครื่องดับเพลิงชนิดคาร์บอนไดออกไซด์,
  • เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหย ที่ไม่ทำลายมลภาวะ

calssc

3.  ไฟประเภท C  สัญญลักษณ์  ตัวอักษร  C  อยู่ในรูปวงกลม   พื้นสีฟ้า  ตัวอักษรสีดำ

 

  • สัญญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ  จะเป็นรูป ปลั๊กไฟที่ลุกติดไฟ
  • เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีกระแสไฟฟ้า
  • เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับไฟ คือ  เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง ABC,
  • เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์,  เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซเหลวระเหย
  • ที่ไม่ทำลายมลภาวะ

4.  ไฟประเภท D   สัญญลักษณ์  ตัวอักษร  D  อยู่ในรูปดาวห้าแฉก  พื้นสีเหลือง ตัวอักษรสีดำ

  • สัญญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ  จะเป็นรูป เฟืองโลหะติดไฟ
  • เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็น โลหะลุกติดไฟ
  • เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับไฟ  คือ  เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมี โซเดียม ครอไรด์

 

5.  ไฟประเภท K   สัญญลักษณ์  ตัวอักษร  K   อยุ่ในรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า  พื้นสีดำ ตัวอักษรสีขาว

  • สัญญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพ  จะเป็นรูป กะทะทำอาหารที่ลุกติดไฟ
  • เป็นไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงน้ำมันทำอาหาร   น้ำมันพืช,  น้ำมันจากสัตว์  และไขมัน
  • เครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับไฟ  คือ  เครื่องดับเพลิงชนิดน้ำผสมสารโปตัสเซี่ยมอะซิเตท

 

ปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตเครื่องดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงได้หลายประเภท ดังนั้นจึงอาจเห็นถังดับเพลิงที่ติดป้าย A-B หรือ B-C หรือแม้แต่ A-B-C ได้ นอกจากนี้เครื่องดับเพลิงยังแบ่งเป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสารที่บรรจุไว้ในถัง

  1. ผงเคมีแห้ง เป็นผงสารเคมีที่ถูกบรรจุอยู่ในถังที่อัดก๊าซที่ไม่ติดไฟไว้ เมื่อกดปุ่ม ก๊าซก็จะผลักดันให้ผงเคมีออกจากถัง
  2. ฮาลอน (Halon) เป็นสารดับเพลิงที่มีลักษณะเป็นก๊าซ นิยมใช้ดับเพลิงที่ลุกไหม้สิ่งที่มีค่า เช่น ในกรณีที่เกิดไฟไหม้ห้องคอมพิวเตอร์ หรือห้องผ่าตัด เพราะเมื่อฉีดไปแล้วจะไม่ทิ้งคราบไว้ตรงบริเวณที่ฉีด หรือทำความสะอาดได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือสามารถดับเพลิงได้ในระยะใกล้ๆเท่านั้น
  3. น้ำ เป็นถังดับเพลิงที่บรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซที่ถูกอัดไว้ เหมาะสำหรับดับเพลิง Class A เท่านั้น
  4. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่ถูกอัดแน่นจนเป็นของเหลวเมื่อฉีดออกมาจะเกิดโฟมที่เย็นจัด ช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ใช้ได้ดีมากกับไฟไหม้ Class B และ C แต่สามารถดับไฟได้ดี แค่ระยะ 3-8 ฟุต

 

ที่มา :

http://www.samsenfire.com/article/83-fire-calss.html

http://www.c-safety.com/10_fire/04_fireknowledge.html